ยินดีต้อนรับผู้ดูแลระบบโรงเรียน   
 
หัวข้อกระทู้ :
 :การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตั้งกระทู้วันที่ : 28 ส.ค. 2564
จำนวนผู้เข้าอ่าน : 18360 คน
ผู้ตั้งกระทู้ : กิตติยาภรณ์ สำเภา 

รายละเอียดกระทู้

  • ชื่อเรื่อง       การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะ

  •                   ความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • ผู้วิจัย          : นางกิตติยาภรณ์  สำเภา
  • หน่วยงาน    โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
  • ปีที่วิจัย       ปีการศึกษา 2562
  •                                                                       บทคัดย่อ
  •           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธี 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  

  •             การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบ พัฒนา และหาประสิทธิภาพ (Design and Development : D&D) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การนำไปใช้ (Implementation : I) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินผล (Evaluation : E) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกการประชุมขั้นการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ (Reflect) After Action Review : AAR 2) แบบสอบถามปัญหาและความต้องการในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและ การออกแบบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 4) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 6)แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 กิจกรรมและ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที (t-test dependent samples)
  •           ผลการวิจัยพบว่า
  •           1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ปรากฏดังนี้
  •               1.1 สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบ พบว่า
  •                     1.1.1 ประเด็นที่ได้รับการสะท้อนจากการจัดการเรียนรู้ คือ 1) ประเด็นด้านครู คือ ครูมุ่งสอนเนื้อหาโดยการอธิบายหรือบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ครูขาดการใช้คำถามที่ให้นักเรียนเกิดการคิดหรือเกิดการอยากเรียนรู้ ครูไม่เปิดกว้างสำหรับคำตอบของนักเรียน 2) ประเด็นด้านสื่อการสอน    คือ ครูไม่มีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ไม่มีสื่อที่ให้นักเรียนค้นคว้าหรือสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติม 3) ประเด็นด้านกิจกรรม คือ มีการจัดลำดับขั้นตอนและความต่อเนื่องของกิจกรรมไม่ดีพอ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะส่วนใหญ่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง สอนโดยการอธิบายหรือบรรยายเป็นส่วนใหญ่ การจัดกิจกรรมของครูไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ครูขาดการเสริมแรงการให้กำลังใจนักเรียน กิจกรรมกลุ่มครูยังควบคุมได้ไม่ดีพอ และ 4) ประเด็นด้านผู้เรียน นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจในการเรียน นักเรียนไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก ไม่สามารถคิดหาคำตอบได้หลากหลายรูปแบบในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่กำหนดให้ นักเรียนไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ นักเรียนแต่ละกลุ่มไม่มีความร่วมมือหรือช่วยเหลือกัน
  •                     1.1.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ 1) ประเด็นด้านครู ครูควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูควรมีการใช้คำถามที่ให้นักเรียนเกิดการคิดหรือเกิดการอยากเรียนรู้อยากค้นหาคำตอบ ครูควรมีการใช้คำถามที่เปิดกว้างหรือกิจกรรมที่ให้นักเรียนเกิดการคิดค้นหาคำตอบได้อย่างหลากหลายรูปแบบ 2) ประเด็นด้านสื่อการสอน ครูควรมีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดความคิดสร้างสรรค์มีความเหมาะสมกับเนื้อหาและนักเรียน ครูควรมีสื่อการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหรือสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติม 3) ประเด็นด้านกิจกรรม ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการจัดลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจนและมีความต่อเนื่องโดยมีรูปแบบขั้นตอนของการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองยึดนักเรียนเป็นสำคัญดูความแตกต่างของนักเรียน มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมระดมความคิดอย่างเปิดกว้าง ควรจัดกิจกรรมกลุ่มให้นักเรียนที่มีความแตกต่างกันอยู่ร่วมกลุ่ม และครูควรมีการเสริมแรงมีการให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้นักเรียนเกิดความสุขมีกำลังใจอยากที่จะเรียน และ 4) ประเด็นด้านผู้เรียน  ครูควรนำสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเป็นสื่อที่ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงแนวการหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์ และหาคำตอบได้หลากหลายรูปแบบ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย น่าสนใจ สนุกสนาน ให้ร่วมคิดร่วมแสดงออก ไม่ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความสนใจเรียน และมีการเสริมแรงให้กำลังใจนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการเรียน
  •          1.2 ปัญหาและความต้องการในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
  •                 1.2.1 ปัญหาในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบของนักเรียน 3 อันดับแรก คือ 1) เรื่อง ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เบื้องต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบ ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมและทักษะทางคอมพิวเตอร์ 2) สื่อการเรียนรู้ของครูไม่น่าสนใจ และ 3) หากนักเรียนเรียนไม่เข้าใจครูไม่มีสื่อที่ให้นักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม จึงทำให้ไม่อยากที่จะเรียน
  •                 1.2.2 ความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบ 3 อันดับแรก คือ 1) ครูควรมีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจเหมาะสมกับเนื้อหาและนักเรียนและเป็นสื่อที่ให้นักเรียนได้ร่วมแสดงแนวการหาคำตอบได้หลากหลายรูปแบบ 2) ครูควรกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีลำดับขั้นตอนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เร้าความสนใจกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ ไม่เบื่อหน่า และ 3) ครูควรมีตัวอย่างสื่อ เรื่อง ปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เบื้องต้น ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติม เพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ
  •           2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีองค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการจัดการ องค์ประกอบด้านเนื้อหา และองค์ประกอบด้านการประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นสืบค้นความรู้และสารสนเทศ ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นการเผยแพร่ความรู้ ขั้นที่ 5 ขั้นตอบแทนสังคมและประเมินผล จากการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบภาคสนาม กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ปรากฏว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 80.31/80.08
  •           3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏดังนี้
  •               3.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.99/80.33
  •               3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  •               3.3 ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  •          4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 


โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้นก่อนแสดงความเห็น
1. ห้ามโพสต์ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลอื่น
2. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าหรือหารายได้ ต่างๆโดยเด็ดขาด
3. ถ้าพบข้อความไม่เหมาะสมเราจะลบทิ้งทันทีโดยไม่แจ้งเจ้าของกระทู้ล่วงหน้า
4. ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบข้อความของตัวเองทุกข้อความ
5. หากพบข้อความ หรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่ singhapoo@hotmail.com เพื่อดำเนินการลบออกจากระบบต่อไป
ข้อความ :
โดย :
E-mail : *****กรุณาใช้ E-maill จริงเท่านั้น
คำเตือน : กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และแน่ใจว่าข้อมูลนี้ไม่ใช่ ข้อความต่อว่าให้ร้ายผู้อื่น มิฉะนั้นข้อมูลนี้จะโดนลบทิ้งทันที