ยินดีต้อนรับผู้ดูแลระบบโรงเรียน   
 
หัวข้อกระทู้ :
 นายประหยัด แก้วพิลึก ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ได้ดำเนินการจัดทำผลงานทางวิชาการ เรื่อง รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม” เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ตั้งกระทู้วันที่ : 27 ส.ค. 2561
จำนวนผู้เข้าอ่าน : 18331 คน
ผู้ตั้งกระทู้ : โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 

รายละเอียดกระทู้

          นายประหยัด แก้วพิลึก ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ได้ดำเนินการจัดทำผลงานทางวิชาการ เรื่อง “รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวัดและประเมินผลการเรียนรู้” และ“รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม” เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้และพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

           โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม  จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้ศึกษา           นายประหยัด  แก้วพิลึก  ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 

วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

                     โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม  ตำบลกันทรอม  อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่พิมพ์           2561 

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม  จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อม 2) ประเมินปัจจัย 3) ประเมินกระบวนการ  4) ประเมินผลผลิต และ 5) ประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน จำนวน 1,062 คน ประกอบด้วย ครู 33 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง นักเรียน 425 คน ได้มาโดยกำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportionate Stratified Random Sampling) โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็นชั้นของการสุ่มนักเรียน หน่วยการสุ่มใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 608)  ผู้ปกครองนักเรียน 425 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และชุมชนซึ่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสรุปข้อมูล จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามครูหัวหน้ากิจกรรมย่อยทุกกิจกรรมด้านพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 5 แบบสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน  โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม  ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 ฉบับที่ 6 แบบสรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา  ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มาตรฐานที่ 14 ด้านคุณธรรม  จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ฉบับที่ 7  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนางานของครู  ตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 8 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฉบับที่ 9 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 

ผลการประเมิน พบว่า 

1. ผลการประเมินประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน  อยู่ในระดับมากที่สุด  จำนวน  1 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ  และอยู่ในระดับมาก  3  ตัวชี้วัด ได้แก่  ความต้องการจำเป็นของโครงการ  ความเหมาะสมของกิจกรรม  และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ

2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการ โดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด  จำนวน  1 ตัวชี้วัด ได้แก่  เอกสารในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม   และอยู่ในระดับมาก  จำนวน  4  ตัวชี้วัด ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือมีเพียงพอ ความชัดเจนของงบประมาณ ความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ และด้านสถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม

3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการจัดกิจกรรมของโครงการ โดยการประเมิน 1 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 2 ตัวชี้วัด พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด  จำนวน  1 ตัวชี้วัด ได้แก่ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียน  และอยู่ในระดับปานกลาง  1 ตัวชี้วัด  ได้แก่ คุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษา 

5. ผลการประเมินประเด็นผลกระทบของโครงการ โดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด  จำนวน  1 ตัวชี้วัด  ได้แก่  ความพึงพอใจของผู้ปกครอง  และชุมชนที่มีต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก  2 ตัวชี้วัด  ได้แก่  ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนางานของครู

สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ประเด็น คือ ประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเด็นปัจจัยของโครงการ ประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการ  ประเด็นผลผลิตของโครงการ และประเด็นผลกระทบของโครงการ  ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดทั้ง 15 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง 1 ตัวชี้วัด ได้แก่ คุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานการศึกษา มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก  11 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ  ความชัดเจนของงบประมาณ  ด้านกระบวนการการจัดกิจกรรม  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน  การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนางานของครู  ความพึงพอใจของครูในการดำเนินโครงการ  ความต้องการจำเป็นของโครงการ  ความเหมาะสมของกิจกรรม  วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือมีเพียงพอ  และสถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม ส่วนอีก 3 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ปกครองและชุมชนในการดำเนินโครงการ  ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ และเอกสารในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม   

 


โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้นก่อนแสดงความเห็น
1. ห้ามโพสต์ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลอื่น
2. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าหรือหารายได้ ต่างๆโดยเด็ดขาด
3. ถ้าพบข้อความไม่เหมาะสมเราจะลบทิ้งทันทีโดยไม่แจ้งเจ้าของกระทู้ล่วงหน้า
4. ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบข้อความของตัวเองทุกข้อความ
5. หากพบข้อความ หรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่ singhapoo@hotmail.com เพื่อดำเนินการลบออกจากระบบต่อไป
ข้อความ :
โดย :
E-mail : *****กรุณาใช้ E-maill จริงเท่านั้น
คำเตือน : กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และแน่ใจว่าข้อมูลนี้ไม่ใช่ ข้อความต่อว่าให้ร้ายผู้อื่น มิฉะนั้นข้อมูลนี้จะโดนลบทิ้งทันที