ชื่อเรื่อง           ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้วิชาสังคมศึกษา

เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย             นายชัยพิพัฒน์  แหวนหล่อ 

ปีการศึกษา      2563

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน วิชาสังคมศึกษา  เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่จัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3  โรงเรียนราษีไศล  สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  จำนวนนักเรียน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 12 แผน  เวลา  12 ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating Scale)  5  ระดับ จำนวน  15 ข้อ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test (Dependent Samples)

 

          ผลการวิจัย พบว่า

          1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง  การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง     มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด