ชื่องานวิจัย     การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es)วิชาประวัติศาสตร์ 2

                          (รหัสวิชา ส21104)หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

         กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

 

ผู้วิจัย             นายชัยศิริ  ลีลาภักดีพงศ์

ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย ให้มีประสิทธิภาพ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย  และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                       กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราษีไศล  อำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบที่มีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (One group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1)    แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดินแดนไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 3)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทางการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอื่นๆ 5)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย 6) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ลักษณะทางสังคมไทยสมัยสุโขทัย 7)          แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย 8) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยสุโขทัย 9) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัย  โดยแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผนมีการประเมินรูปแบบความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.16 มีองค์ประกอบคุณภาพความเหมาะสมโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15 นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง  2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ  และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 27 ข้อ  ค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) มีค่า 0.60 ? 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.93 ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที

                         ผลการวิจัยพบว่า  1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ย 4.43  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.16  มีองค์ประกอบคุณภาพเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.63/81.76 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                         2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                         3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es) วิชาประวัติศาสตร์ 2 (รหัสวิชา ส21104) หน่วยการเรียนรู้ อาณาจักรสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด