ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย

ผู้รายงาน นางสาวรุ่งลาวรรณ์ ครองยุติ     

พุทธศักราช 2558

บทคัดย่อ

   การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกายที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุด กิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกายประชากรที่ใช้ในการรายงาน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนผักแพววิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา พ 33101 เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล

   ผลการรายงานปรากฏ ดังนี้

   1. ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนผักแพววิทยา เท่ากับ 85.65/ 85.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

   2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกายมีค่าเท่ากับ 0.68 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.80

   3. คะแนนประเมินผลหลังการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย มีความแตกต่างกับคะแนนประเมินผลก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา พ 33101 เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ การจัดการเรียนการสอน รายวิชา พ 33101 สุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา มาประกอบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนรายวิชาสุขศึกษา พ 33101 เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

   4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา พ33101 เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.50 ที่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการสอนแบบร่วมมือ(STAD) ด้วยชุดกิกรรมการเรียนรู้ วิชาสุขศึกษา เรื่อง ระบบต่างๆของร่างกายทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนในรายวิชาสุขศึกษา พ 33101 สูงขึ้น