ชื่อเรื่อง  :  

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ   ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย :

นางปนัดดา  หล้าคำ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

 

โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่วิจัย :

 2560


                                  บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2           2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  3.4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 5 ชนิด คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น   2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Dependent t test และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

 

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ส่วนมากยังไม่ให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับของผู้เรียน จึงส่งผลให้ผู้เรียนต้องการพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งกิจกรรมที่ครูจัดให้นักเรียนยังไม่มีความลุ่มลึกพอ  ที่จะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ให้บรรลุผล

              2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์รายละเอียดของปัญหา ขั้นที่ 2 ระบุความต้องการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นสืบเสาะหาแนวทางแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นใส่ใจสร้างต้นแบบ ขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้และประเมินผลงาน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุนและได้รับการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับเหมาะสมมากที่สุด

3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏ ดังนี้

   3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.60 /85.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80  

                3.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถติที่ระดับ .01

  3.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3.4 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก