ชื่อผลงาน:       การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่าน                           อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ชื่อผู้วิจัย:         นางอรพินท์ นุเรศรัมย์

ปีที่วิจัย:           2559 

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อประเมินผล  การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 243 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพร้อมของบริบทโรงเรียน  แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ขั้นตอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนการระดมสมองและขั้นตอนการสอนแบบ STAD  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า ttest  แบบ dependent  และการวิเคราะห์เนื้อหา

  ผลการวิจัยพบว่า

1) โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ มีความพร้อมของบริบทโรงเรียนในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด  และมีความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด

2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นนำเสนอข้อมูล 3) ขั้นระดมสมอง 4) ขั้นพัฒนาทักษะ และ 5) ขั้นสรุปบทเรียนและตัดสินผลงาน  

3) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 83.44/84.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

4) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

5) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้การระดมสมองร่วมกับการเรียนรู้แบบ STAD เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก